นิ้วล็อคเป็นปัญหาเรื้อรัง สามารถเกิดได้กับทั้งนิ้วมือและเท้า โดยมักพบบ่อยหรือกว่า 50% ของผู้ที่ใช้งานหนัก หรือเล่นกีฬาที่เกิดการเกร็งข้อนิ้วในท่าเดิมซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นประจำ
โดยเฉพาะในวัย 40+ และกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน โดยมีต้นตอจากข้อกระดูกนิ้วและเส้นเอ็นเสื่อม เกิดการอักเสบ และเกิดผังผืดไปเกาะรัด ทำให้ข้อนิ้วเกิดอาการติดขัด ยืดงอลำบาก ปวด บวม หรือเกร็งจนนิ้วล็อค
โดยส่วนใหญ่หากอาการรุนแรง คนไข้อาจหนีไม่พ้นที่จะต้องพึ่งพาการผ่าตัด แต่ทราบหรือไม่ว่า การผ่าตัดอาจเป็นการแก้ปัญหาเพียงปลายเหตุ ทำให้มีโอกาสเกิดซ้ำ และอาจเป็นการบรรเทาอาการในระยะสั้น มากกว่าจะเป็นการรักษาให้หายขาด
อย่างไรก็ตาม หากเราเน้นแก้ปัญหาที่ต้นตอ โดยเน้นการฟื้นฟูข้อนิ้วและเส้นเอ็นในจุดที่เสื่อมสภาพ ให้กลับมาแข็งแรงได้ ร่วมกับการดูแลที่เหมาะสม อาการนิ้วล็อคจะหายขาดได้ ไม่เกิดการอักเสบหรือพังผืดเกาะรัดจนข้อถูกจำกัดการเคลื่อนไหว ทำให้ไม่มีอาการปวดหรือตึงจนใช้งานลำบากในชีวิตประจำวัน
วิธีแก้นิ้วล็อคที่ต้นเหตุ
1. พักการใช้งาน
งดกิจกรรมที่ใช้นิ้วในท่าเดิมซ้ำๆ หรือการถือของหนัก เพราะจะทำให้ปวดมากขึ้น เกิดการอักเสบรุนแรงขึ้น ตามมาด้วยพังผืดที่จะก่อตัวหนาขึ้น ทำให้ปัญหานิ้วล็อคเรื้อรัง รักษายากยิ่งขึ้นได้
กรณีไปช้อปปิ้ง ซึ่งอาจต้องถือของหนักเป็นเวลานาน แนะนำให้ใช้วิธีคล้องถุงบริเวณข้อพับแขนแทนการใช้นิ้วมือ
2. ทานอาหารเสริมบำรุง
มองหาอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของ NEM® ซึ่งจากผลวิจัยพบว่า สามารถฟื้นฟูกระดูกอ่อนข้อต่อที่นิ้วและเส้นเอ็นให้แข็งแรงยืดหยุ่นได้ดี ไม่เกิดการอักเสบ โดยมีประสิทธิภาพสูงกว่ากลูโคซามีนถึง 3 เท่า
เภสัชแนะนำลอง OVOCAL® Calcium + NEM®
วิธีรับประทาน : วันละ 2 เม็ดก่อนอาหารเช้า
ต่อเนื่อง 1-3 เดือน
ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ เราพบว่าคนไข้กว่า 80% จะหายเป็นปกติได้ รวมไปถึงกรณีข้อเข่าเสื่อม ก็เห็นผลได้ดีเช่นกัน
3. เสริมวิตามินและแร่ธาตุ
การเสริมด้วยแร่ธาตุกลุ่ม Magnesium วันละ 300-350mg. ก่อนนอน จะช่วยคลายเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อได้ดี
ในขณะที่เพิ่มวิตามินซี วันละ 1,000-2,000mg. จะมีส่วนช่วยในการสร้างโปรตีนคอลลาเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของเส้นเอ็น
หมายเหตุ : กรณีเป็นโรคกระเพาะหรือกรดไหลย้อน แนะนำให้ใช้วิตามินซีชนิด Buffered C จะไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
MEGA Magnesium
Vitamin B 350mg.
Vitamin B 350mg.
BLACKMORE
Buffered C 500mg.
Buffered C 500mg.
4. ทานยาแก้ปวด
กรณีปวดรุนแรง ต้องการลดปวดแบบฉับพลัน สามารถทานยาแก้ปวดและลดการอักเสบกลุ่ม NSAIDs ร่วมด้วยได้ แต่ไม่ควรเกิน 5-7 วัน
คำเตือน : คนไข้ที่มีปัญหาโรคกระเพาะ กรดไหลย้อน ควรทานยาเคลือบกระเพาะร่วมด้วยเพื่อลดการระคายเคืองของระบบทางเดินอาหาร
5. ทำ Stretching Exercise
ยืดข้อนิ้วเบาๆ วันละ 2-3 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน เพื่อยืดเส้นเอ็นที่เกร็งและหดตัวให้คลายลง
Play Video
How To Fix Trigger Finger: Learn What Causes Trigger Finger And Its Treatments
ดูคลิปวิดีโอ »