อาหารและเครื่องดื่มต้องห้าม ได้แก่ แฮมเบอร์เกอ เฟรนช์ฟรายส์ เครื่องดื่มอัดลม

4 อาหารทำร้ายกระดูก ที่ควรหลีกเลี่ยง

: Updated

เภสัชได้รวบรวม อาหารและเครื่องดื่มต้องห้าม ที่มีผลต่อระดับแคลเซียม ทั้งทำให้แคลเซียมถูกขับออก และลดปริมาณการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่มวลกระดูก ทำให้มวลกระดูกบางและอ่อนแอลง ง่ายต่อการร้าวหรือแตกหักจากกรณีหกล้ม หรือบาดเจ็บจากเล่นกีฬา โดยเฉพาะในวัย 40+ และสาวๆในวัยหมดประจำเดือนรวมทั้งยังมีผลกระทบต่อส่วนสูงของเด็กๆอีกด้วย

เทขวดเกลือ

1. อาหารรสเค็ม

อาหารที่มีรสเค็มได้รับการพิสูจน์แล้วว่า จะทำให้แคลเซียมถูกขับออกทางปัสสาวะมากเกินไป โดยเฉพาะในกลุ่มสตรีวัยหมดประจำเดือน ทั้งยังมีผลทำให้ไตเสื่อมก่อนวัยอันควร จึงควรบริโภคโซเดียมในปริมาณที่ต่ำกว่า 2,400 มก. ต่อวัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความหนาแน่นของมวลกระดูก โดยวิธีที่ง่ายที่สุดในการหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนี้คือ จำกัดอาหารประเภทจานด่วนและอาหารแปรรูป และเลือกทำอาหารทานเองบางมื้อที่บ้าน ด้วยวัตถุดิบที่สดใหม่ ไม่ปรุงรสด้วยเกลือ และยอมตัดใจไม่ทานอาหารควบน้ำปลาพริกขี้หนู ก็จะช่วยลดปริมาณโซเดียมในมื้ออาหารได้เป็นอย่างดี

กาแฟและเครื่องชงกาแฟ

2. คาเฟอีน

จากงานวิจัยพบว่า อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สามารถลดการดูดซึมแคลเซียม และชะล้างแร่ธาตุจำเป็นออกจากกระดูกได้โดยตรง โดยพบว่าการบริโภคกาแฟปริมาณ 6 ออนซ์ จะทำให้ร่างกายเราสูญเสียแคลเซียมไปประมาณ 4-6 มก. ดังนั้นการเปลี่ยนเครื่องดื่มเป็นชนิดไม่มีคาเฟอีน หรือมีคาเฟอีนต่ำ ก็จะช่วยลดผลกระทบต่อความหนาแน่นของมวลกระดูกได้อย่างชัดเจนในระยะยาว

คนชนเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

3. แอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานานและในปริมาณที่มากเกินไป นอกจากทำให้เสี่ยงตับแข็งแล้ว อาจจำกัดการดูดซึมแคลเซียม จนกระทบต่ออัตราการสร้างกระดูกใหม่เพิ่มโอกาสที่จะเกิดภาวะกระดูกหักและส่งผลกระทบต่อกระบวนการสมานตัวของกระดูก นอกจากนี้การดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลต่อการทรงตัวและเพิ่มความเสี่ยงของกระดูกหักในกรณีที่เกิดการหกล้ม ข่าวดีคือคุณอาจไม่จำเป็นที่ต้องงดการดื่มชนิดแตะไม่ได้ เพราะข้อมูลของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งชาติสหรัฐแนะนำว่า สามารถดื่มได้ แต่ควรจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เกิน 2-3 แก้วต่อวัน
เนื้อแบบเนื้อแดง

4. เนื้อแดง

แม้ว่าโปรตีนจากพืช จะช่วยรักษาความหนาแน่นของกระดูกได้ แต่โปรตีนจากสัตว์ก็สามารถดึงแคลเซียมออกจากกระดูกได้เช่นกัน จากงานวิจัยในกลุ่มผู้หญิง 116,686 คนเป็นเวลา 10 ปี โดยนักวิจัยจาก Harvard Medical พบว่าผู้หญิงที่ทานเนื้อแดงอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ มีอัตราการเกิดภาวะกระดูกหักมากกว่าผู้หญิงที่กินเนื้อแดงเพียงสัปดาห์ละครั้ง ดังนั้นการทานปลาหรือผักใบเขียวเข้มแทนเนื้อแดง สามารถช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกได้ดี

ในกรณีที่ได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ หรือมีการใช้ยาที่มีผลต่อระดับแคลเซียม เช่น ยาเบาหวาน การเสริมแคลเซียมชนิด Supplement เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้มวลกระดูก ฟื้นฟูภาวะกระดูกพรุน ลดความเสี่ยงต่อปัญหากระดูกแตกร้าว โดยเฉพาะกระดูกสะโพกในหญิงวัยหมดประจำเดือน อาจเป็นสิ่งจำเป็น

เภสัชแนะนำให้เลือกใช้แคลเซียมชนิด Calcium L-Threonate ซึ่งแม้มีราคาสูงกว่าแคลเซียมชนิด Calcium Carbonate แต่ปราศจากคราบหินปูนสะสม เพราะสกัดจากพืช ทำให้ละลายและดูดซึมได้กว่า 90% ไม่ทำให้ท้องผูก อุดตันหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ หรือทำให้เกิดภาวะกระดูกงอก สามารถทานต่อเนื่องระยะยาวได้อย่างปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง

Siam Drug

Pharmacy in Bangkok

Located in : Central Rama 3

Opens : 10:30 AM

บทความยอดนิยม

สอบถามข้อมูล

สอบถามหรือสั่งซื้อแบบง่ายๆ

โทรปรึกษาเภสัชกร

คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญ 
8:00-17:00 น.

Siam Drug

Pharmacy in Bangkok

Located in : Central Rama 3

Opens : 10:30 AM