คงดีไม่น้อย หากเราได้ทำกิจกรรมที่ชอบและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ โดยที่ไม่มีข้อจำกัดด้านสุขภาพให้รบกวนหัวใจ แต่สุขภาพร่างกายกลับแปรผันกับอายุที่มากขึ้น โรคภัยไข้เจ็บก็ดูยิ่งใกล้ตัว โดยเฉพาะ “อาการปวดเข่า” อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่เราทุกคน ทุกวัย ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากจะทำให้ใช้ชีวิตได้ยุ่งยาก หากปล่อยไว้นานๆ ก็อาจจะทำให้อาการร้ายแรงมากขึ้น!
ถ้าลองสังเกตร่างกายของตนเอง จะพบว่าแทบทุกอิริยาบทในชีวิตประจำวัน เรามักจะใช้อวัยวะที่เรียกว่า “เข่า” มารับน้ำหนักตัวและช่วยเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน นั่ง ยืน หรือแม้แต่การออกกำลังกาย ซึ่งทั้งหมดล้วนส่งผลกระทบต่อข้อเข่าทั้งสิ้น ระดับความรุนแรงก็มักจะแตกต่างกันออกไป เช่น อาการปวดเข่า อาการเข่าบวมจากการที่เลือดออกในข้อเข่า อาการเข่ายึดเดินติดขัด หรือการได้ยินเสียงผิดปกติเมื่อขยับข้อเข่า หากคุณเริ่มรู้สึกปวดข้อเข่าแม้เพียงนิด นั่นอาจเป็นสัญญาณบอกว่า ข้อเข่าของคุณเริ่มมีปัญหาเสียแล้ว
แล้ว “อาการปวดเข่า” มีที่มาจากอะไร?
ปกติแล้ว “ข้อเข่า” ของคนเรา ประกอบไปอวัยวะทีมีส่วนสำคัญต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย ได้แก่ กระดูกหน้าแข้ง กระดูกต้นขา ลูกสะบ้า เอ็นรอบข้อเข่า กระดูกอ่อน น้ำหล่อเลี้ยงข้อ รวมถึงอวัยวะที่มีส่วนสำคัญต่อการรับแรงกระแทกจากน้ำหนักตัวอย่างหมอนรองกระดูก ซึ่งอาการปวดข้อเข่ามักเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของอวัยวะเหล่านี้นั่นเอง
2. การอักเสบจากกล้ามเนื้อฉีก – เนื่องจากกล้ามเนื้อยืดหรือหดรวดเร็วเกินไป ขาดความยืดหยุ่น ใช้งานฝืนผิดธรรมชาติและรุนแรงเกินควร
3. การอักเสบของกระดูกอ่อน – เกิดจากการใช้งานข้อเข่าเป็นเวลานาน จนเกิดอาการอักเสบบริเวณกระดูกอ่อน ซึ่งอาจบาดเจ็บพร้อมกันกับเส้นเอ็นหรือลูกสะบ้า พฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณนี้ ได้แก่ การยืนงอเข่า การนั่งยองๆ หรือขึ้น-ลงบันไดแรงๆ จนเกิดการกระแทกช่วงข้อเข่า
4. การอักเสบของหมอนรองกระดูก – เกิดจากการเสื่อมสภาพและสึกหรอของเนื้อหมอนรองกระดูก หากไม่ดูแลรักษาให้ดี อาจทำให้อาการปวดข้อเข่ารุนแรงขึ้นได้ ซึ่งไม่เพียงแต่ผู้สูงวัยเท่านั้นที่มีโอกาสหมอนรองกระดูกอักเสบ กลุ่มคนที่อายุยังน้อยก็สามารถเกิดหมอนรอง
กระดูกอักเสบได้เช่นกัน หากประสบอุบัติเหตุ หกล้ม หรือได้รับบาดเจ็บรุนแรงจนหมอนรองกระดูกฉีกขาด
จะเห็นว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิต ส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของเราทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายหนักเกินไป การเดินขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆ หรือการนั่งทับขาหรือท่าเดิมเป็นเวลานาน จนเลือดไปหล่อเลี้ยงเส้นเลือดที่ข้อเข่าได้ไม่เต็มที่ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อเข่าได้เช่นกัน เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น พันธุกรรมจากคนในครอบครัว และการมีน้ำหนักตัวที่เกินเกณฑ์ ทำให้กระดูกข้อเข่าเสื่อมสภาพได้เร็ว เนื่องจากต้องรองรับน้ำหนักมากกว่าปกติ
จะป้องกัน “อาการปวดเข่า” ได้อย่างไร?
1. บริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่าของตนเองให้แข็งแรง
ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสำหรับคนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ให้หลีกเลี่ยงท่าบริหารร่างกายที่เสี่ยงเป็นอันตรายต่อข้อเข่า เช่น การนั่งยอง คุกเข่า งอเข่า เป็นเวลานานๆ
OVOCAL® ผลิตภัณฑ์แก้อาการปวดเข่าและข้อต่อชนิดรุนแรง เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดในท้องตลาด ที่สามารถลดปวด ลดอักเสบ ให้ข้อเข่าได้รวดเร็วใน 7-14 วัน สามารถฟื้นฟูข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงวัยให้กลับมาแข็งแรงได้ ทั้งยังช่วยเสริมสร้างกระดูกอ่อน เพิ่มน้ำเลี้ยงข้อเข่า และเป็นตัวเดียวที่เพิ่มความยืดหยุ่นให้เส้นเอ็นและกล้ามเนื้อได้ด้วยในตัว และช่วยให้กระดูกพรุนกลับมาแข็งแรงได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาปวดเข่า
3. ปรับพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิด “อาการปวดข้อเข่า”
นอกจากการออกกำลังกายและการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การดูแลตนเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปวดข้อเข่าให้น้อยที่สุดย่อมเป็นสิ่งสำคัญ เริ่มจากหลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่าเป็นเวลานานๆ รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม และนึกถึงสุขภาพของตนเองก่อนเสมอ เพราะการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เริ่มต้น คือสิ่งสำคัญที่สุดที่จะช่วยให้ทุกคนห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บได้นั่นเอง